วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การวาดภาพสีน้ำมัน

ภาพเขียนสะท้อนวิถีชีวิต ลุ่มแม่น้ำท่าจีน - แม่กลอง ได้เห็นภาพแล้วคิดถึงนักแล ลุ่มแม่น้ำท่าจีน - แม่กลอง คลองที่ได้ไปล่องเรือมา ลูกลำพูที่เอื้อมมือเก็บ น้ำตาลมะพร้าวเคี่ยวไฟจากเตาถ่าน ลูกจากเฉาะกินเนื้อหวานใส น้ำใจจากชาวคลอง หรือแม้กระทั่งแสงอันน้อยนิดของหิ่งห้อยศิลปินบันทึกเอามาฝากกันคนละหลายมุม ผ่านภาพเขียนของพวกเขา ทั้งสีน้ำ สีอะคริลิค ตลอดจนเทคนิคสีน้ำมัน เห็นภาพแล้วทำให้นึกถึงบรรยากาศจริง ขณะเดียวกันก็ฝันไปได้ไกลกว่า เพราะพลานุภาพแห่งศิลปะนำพานั่นเองตุลาคมปีที่แล้ว ศิลปินพร้อมใจกันลงพื้นที่ ศึกษาสภาพธรรมชาติ วิถีชีวิต ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับ คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ในนาม “เครือข่ายวิจัยบูรณาการลุ่มแม่น้ำท่าจีน – แม่กลอง” ซึมซับในสิ่งที่ตาเห็น และใจได้สัมผัส มาถ่ายทอดผ่านงานศิลปะมิได้มุ่งหวังให้คนชมภาพเขียนได้รับอรรถรสจากการชมเพียงอย่างเดียว แต่หวังจะกระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นค่าใน “แบบ” ของสิ่งพวกเขาเลือกมาถ่ายทอด เพื่อจะได้ร่วมกันต่อยอดหาแนวทางในการพัฒนาสิ่งนั้นร่วมกันต่อไปอย่าง “ยั่งยืน”งานศิลปะมีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาและกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ ก่อให้เกิดจินตนาการและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งงานศิลปะยังสามารถสื่อคุณค่าและความหมายให้เข้าใจได้ง่ายสำหรับคนทั่วไปได้ทุกเพศทุกวัยนี่กระมังคือเหตุผลที่เหล่าหัวหอกนักวิจัย เลือกศิลปะมาเป็นสื่อเชื่อมความคิดอีกทาง นอกเหนือจากวงเสวนาเครียดๆ และตำราเล่มหนัก55 ภาพเขียนจากแรงบันดาลใจของศิลปิน 22 ท่าน กาพย์ หอมสุวรรณ์,ธนะ เลาหะกัยกุล,ธงชัย รักปทุม,โกศล พิณกุล,อิงอร หอมสุวรรณ์,กัญญา เจริญศุภกุล,พิษณุ ศุภนิมิตร,ปรีชา เถาทอง,ถาวร โกอุดมวิทย์,ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง,ธรรมนูญ เรืองสวัสดิ์,วิเชษฐ์ จันทรนิยม,รุ่งพันธุ์ บุรุษชาติ,นุกูล ปัญญาดีตลอดจน พีระ ศรีอันยู้,สุวัฒน์ วรรณมณี,บุญชนะ ไชยจิตต์,อรัญ หงส์โต,เสงี่ยม ยารังสี,อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์,ชวลิต เทียมอัมพร และสมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ ที่กำลังจัดแสดงให้ชม ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ธนาคารกรุงเทพสาขาผ่านฟ้า อาจไม่ได้หมายถึงความสำเร็จของเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมผลักดันและสานต่อไปสู่เป้าหมาย ที่คณะนักวิจัยและทีมงานวาดหวังผ่านในนามโครงการ “การสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศิลปะกับวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน – แม่กลอง”ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง หนึ่งในจำนวนศิลปินกล่าวถึงภาพของผลไม้พื้นถิ่นอย่างชมพู่มะเหมี่ยว และสาแหรก ที่เขาเลือกวาดว่า อยากให้คนชมได้รับเอาความรู้สึกของความเป็นชนบทอันมีชีวิตที่เรียบง่าย ซึ่งผลไม้ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายได้ เจ้าตัวอุตส่าห์เวียนกลับไปยังสมุทรสงครามอีกครั้ง โดยหาซื้อผลไม้ทั้งสองชนิดจากตลาดน้ำอัมพวามารับประทาน“อยากสื่อไปถึงชีวิตที่เรียบง่าย ชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี ผมวาดภาพนี้อาทิตย์กว่าๆ และทำกรอบด้วยตัวเองอีก 3-4 วัน โดยใช้เชือกคล้ายๆเสื่อทำกรอบ ภาพนี้ถ้าจะให้ดีต้องดูกรอบด้วย” เขาว่า เพราะงานชิ้นจริงนั้นแสดงถึงความคิดองค์รวมทั้งหมดของเขาได้มากกว่าในฐานะที่เป็นผู้หนึ่งที่ได้ไปลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตผู้คนลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง แม้จะในระยะเวลาอันสั้นก็ตาม ไพรวัลย์ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า“โดยส่วนตัวผมรู้สึกเป็นห่วงเหมือนกัน ต้องยอมรับว่าความเจริญ เทคโนโลยี ตลอดจนโรงงานต่างๆ มีผลต่อสภาพแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำแม่กลองเหมือนกัน ผมยังมีความรู้สึกว่า ลุ่มแม่น้ำแม่กลองถ้าถูกพัฒนาอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกที่ควรจะดีมากๆ จนถึงวันนี้ผมเองก็ยังประทับใจในธรรมชาติที่ได้ไปสัมผัสมา อย่างเช่น หิ่งห้อยในคุ้งน้ำยามค่ำคืน เป็นต้น ขณะเดียวกันยามที่ได้ไปเห็นขยะเกยตื้นขึ้นมาทับถมตรงปากแม่น้ำ ก็ต้องยอมรับว่าเศร้าใจ”ใครที่เท้าไม่เคยได้เหยียบดิน ตาไม่เคยแหงนหน้ามองดูดาว เช้าก็ต้องรีบไปทำงาน ลองหาเวลาไปสัมผัสและรับเอาความรื่นรมย์ของวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง ผ่านภาพเขียนของศิลปินดูสักครั้งไม่แน่คุณอาจจะอยากมีส่วนช่วยดูแลทุกชีวิตที่ถือกำเนิดขึ้น ณ ลุ่มน้ำแห่งนั้น ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้
ต่อไปนี้คือตัวอย่างภาพ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 สิงหาคม 2549 12:56 น.
โดย: เตี้ย เตาปูน [4 ส.ค. 49 17:10] ( IP A:203.154.215.21 X: )
http://www.pantown.com/board.php?id=11476&area=4&name=board1&topic=393&action=view

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศ

@@@ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ@@@
........เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
2.เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมุลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใข้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น
@@@ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ @@@
การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้
1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น
5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
6. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
7. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป
ที่มา :รวบรวมจาก หนังสือเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เครือข่ายการเรียนรู้


สังคมไทยปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการพัฒนาสมัยใหม่ ทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเครือญาติและการแบ่งปันกันโดยตรงระหว่างคนไทยด้วยกันได้คลายพลังลงไปมาก สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือการพึ่งพาอาศัยกันในเชิงการแลกเปลี่ยนผ่านกลไกการจัดการ ความสัมพันธ์ใหม่นี้ได้ฉุดดึงญาติพี่น้องให้เข้ามาใกล้ชิดกันอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านและชุมชนจำนวนมากจึงสามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกลไกทางสังคมที่มีพลังในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั้งมวลในปัจจุบันเครือข่ายในความหมายของความสัมพันธ์ใหม่มีบทบาทในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง ประมวลจากการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายที่มีอยู่ในสังคมไทย มีการพูดถึงเครือข่ายในความหมายที่เหมือนและแตกต่างกันไป แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1. กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน จากการสรุปจากประสบการณ์การทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน พบว่าเครือข่ายชาวบ้าน หมายถึง การรวมตัวกันของบุคคลและ/หรือองค์กรที่มีกิจกรรมและเป้าหมายใกล้เคียงกัน มีชุดของปัญหาคล้ายคลึงกัน มีการพัฒนากิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ มีการประสานงานและพบปะกันอย่างต่อเนื่อง และมีการกำหนดกฎเกณฑ์ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลและ/หรือองค์กรที่เข้าร่วมในกิจกรรมของเครือข่าย บนพื้นฐานความเป็นอิสระของทุกองค์กรชุมชน และ เครือข่ายชาวบ้าน คือ รูปแบบความสัมพันธ์ของบุคคลและ/หรือชุมชน เพื่อการแก้ปัญหา เอาชนะข้อจำกัดและพัฒนาตนเอง เครือข่ายเป็นกระบวนการทางสังคมที่ประสานพลังของผู้นำชาวบ้านและองค์กรชุมชน เพื่อการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถทำได้โดยลำพังหมู่บ้านเดียว เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองในงานพัฒนาสังคม (วิชิต นันทสุวรรณ, 2538)เครือข่ายของชาวบ้านและชุมชนที่มีอยู่ในสังคมไทย โดยทั่วไปเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการพึ่งพาอาศัยและการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และพบว่าสิ่งที่สามารถพึ่งพาและแลกเปลี่ยนกันได้นั้น ประกอบด้วย
(1) ความรู้และประสบการณ์
(2) ทรัพยากรธรรมชาติ
(3) ผลผลิต และ
(4) เงินทุน การรวมตัวเป็นเครือข่ายจึงเกิดได้ไม่ยากนัก และพบเห็นอยู่ทั่วไปในชนบท (จำนงค์ แรกพินิจ, 2539)
2. กลุ่มองค์กรรัฐและนักวิชาการ ให้ความหมายที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไว้ดังนี้เครือข่ายการเรียนรู้ คือ การที่ชาวบ้านรวมตัวกัน ขบคิดปัญหาของเขา รวมพลังแก้ปัญหา และหาผู้นำขึ้นมาจากหมู่ชาวบ้านด้วยกันเอง แล้วรวมตัวกันเพื่อมีอำนาจต่อรอง มีการต่อสู้ทางความคิด มีการเรียนรู้จากภายนอก มีการไปมาหาสู่กันเรียนรู้ดูงานด้วยกัน จนกระทั่งเกิดเป็นกระบวนการแก้ปัญหาได้ การทำมาหากินดีขึ้น เศรษฐกิจแต่ละครอบครัวดีขึ้น (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2539)เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของบุคคลและชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2535)เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง ขอบเขตแห่งความสัมพันธ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีลักษณะประสาน ติดต่อสัมพันธ์ เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรม ระหว่างคนกับคน คนกับกลุ่ม และกลุ่มกับกลุ่ม" (ประทีป อินแสง, 2539)
3. กลุ่มเครือข่ายเทคโนโลยี ซึ่งใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการสัมพันธ์และเชื่อมโยงคนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสูงในภาคสังคมเมือง ธุรกิจ และสถาบันการศึกษานอกเหนือจากการให้ความหมายของเครือข่ายแล้ว การศึกษาที่เกี่ยวข้องยังให้ความสำคัญกับกระบวนการของเครือข่าย ไว้ดังนี้
1. เวทีชาวบ้าน คือเงื่อนไขเริ่มต้นของเครือข่าย เวทีชาวบ้านจะเชื่อมโยงคนเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิด เครือข่ายการเรียนรู้ ที่ชาวบ้านไปมาหาสู่ แลกเปลี่ยนดูงานและเข้าไปมีบทบาทช่วยงานของหมู่บ้านอื่น ๆ มีการสื่อสารถึงกันตลอด มีการรวมกลุ่มผู้รู้เพื่อแลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ และเป็นครูชาวบ้านให้กับหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ต้องการ เครือข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงมีธรรมชาติและพัฒนาการของตนเองแตกต่างกัน ตั้งแต่เป็น เครือข่ายการเรียนรู้ จนถึง องค์กรเครือข่าย ซึ่งเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าที่สุดของเครือข่ายที่เกิดขึ้น คือ มีการทำกิจกรรมและมีระบบการจัดการร่วมกันขึ้น และประสบการณ์การจัดการร่วมกันของหลายเครือข่าย นำไปสู่ข้อสรุปบางประการ เช่น
2. บทบาทของเครือข่ายไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาโครงสร้างองค์กรที่แข็ง มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว แต่เป็นการสร้างกระบวนการความร่วมมือระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งเริ่มต้นจาก การเรียนรู้ คือ การแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ในประเด็น การจัดการ ซึ่งหมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของคนและกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ทรัพยากร ซึ่งครอบคลุมทรัพยากรธรรมชาติ โภคทรัพย์และเงินทุน เป็น 3 ประเด็นสำคัญของกระบวนการเครือข่าย
3. การพัฒนาระบบการจัดการในระดับเครือข่ายจะต้องไม่ส่งผลกระทบกับความเป็นอิสระขององค์กรชุมชน ให้รูปแบบวิธีการของแต่ละองค์กรชุมชนที่แตกต่างกันดำรงอยู่ เป็นความหลากหลายในทิศทางเดียวกัน
4. กิจกรรมระดับเครือข่ายที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากกระบวนการนี้ กิจกรรมเริ่มต้นจากความร่วมมือในวงเล็ก ๆ เพื่อสะสมประสบการณ์ แล้วค่อย ๆ พัฒนาระบบการจัดการเฉพาะกิจกรรมที่ชัดเจน และขยายแวดวงความร่วมมือให้กว้างออกไป (วิชิต นันทสุวรรณ, 2538)
5. ผลการศึกษาการเรียนรู้ที่ชาวบ้านและชุมชนเป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าของกระบวนการในทุกภาคของประเทศ พบว่า การเรียนรู้ดังกล่าวประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
*** การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาทั้งของตนเอง ชุมชน และเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ากับสังคมไทยตลอดจนสังคมโลก
*** การแสวงหาทางออกที่เหมาะสมกับตนเองและชุมชน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การประชุม สัมมนา การศึกษาดูงาน และการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ
*** การสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นผลจากการตัดสินใจของตนเองและชุมชน ในแง่ของชุมชนกิจกรรมที่ทำขึ้นนี้อาจเรียกว่า กิจกรรมเครือข่าย เพราะเป็นตัวชักจูงและเชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน
6. การประเมินผลกิจกรรม และนำผลที่ได้ไปแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลของกระบวนการเรียนรู้ที่มีต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ พิจารณาได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า หรือทั้งหมด (วิมลลักษณ์ ชูชาติ, 2540)ความหมายของเครือข่ายที่มีอยู่ในสังคมไทยจึงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ใหม่ที่มีบทบาท 2 ด้าน คือ
**ด้านการพัฒนา เป็นการร่วมมือกันของคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
**ด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการสร้างเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และความรู้
เป็นเครือข่ายในความหมายทางด้านสังคม และมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการจัดความสัมพันธ์และเชื่อมโยงคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในการเรียนรู้และการพัฒนา ซึ่งเป็นเครือข่ายในความหมายทางด้านเทคโนโลยีและเมื่อการศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน การจัดการศึกษาโดยกระบวนการของเครือข่าย จึงเป็นแนวทางใหม่ของการจัดการศึกษาที่มีลักษณะสำคัญ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สรุปไว้ดังนี้
1. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยในลักษณะที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนต่าง ๆ
2. อาศัยองค์ความรู้เดิมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในการพัฒนา โดยมีการประยุกต์ใช้วิทยาการสมัยใหม่ด้วยความเหมาะสม
3. มีองค์กรชุมชนเป็นหน่วยของการจัดการศึกษา โดยสมาชิกในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ปัญหาของคนในชุมชนร่วมกันการจัดการศึกษาในลักษณะ “เครือข่ายการเรียนรู้” นี้เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน ทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ทดลองปฏิบัติและสรุปบทเรียนร่วมกัน กระบวนการดังกล่าวเมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงของคนในชุมชน จะช่วยให้คนเหล่านี้เรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการเรียนรู้จากปัญหาจริงและจะช่วยให้ชุมชนสามารถยกระดับการเรียนรู้ในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ให้สูงขึ้นได้ในระดับพัฒนาการของชุมชนปัจจุบัน การจัดการศึกษาในแนวทางเครือข่ายการเรียนรู้ ในความหมายที่เป็นเครือข่ายทางสังคมจะมีความเหมาะสมสอดคล้องกว่าความหมายทางเทคโนโลยี



วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

การใช้ " Filter "

ตัวอย่างการใช้ "Filter"ในลักษณะต่างๆดังนี

Mosaie Tiles

Diffuse Glow

Water Peper

Spatter

Underpainting







วิธีการสร้าง blogger

ขั้นตอนการสร้างคือ.......
1. เข้าไปที่ http://www.blogger.com/ จะเกิดหน้าต่างขึ้นคลิกที่แถบลูกศรสีส้ม create your blog now
2. เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 1 create account พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
3. เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 2 name your blog พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
4. เกิดหน้าต่าง choose a template เพื่อเลือกลวดลายของหน้าต่างที่เราจะใช้เป็น web page มี 12 ลายให้เลือก เมื่อเลือกได้แล้วก็คลิก continue
5. หลังจากนั้นจะเกิดหน้าต่าง your blog has been created คลิก start posting เพื่อเริ่มสร้าง blog เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้าง blogger แล้วคะ

วิธีการวาดภาพเบื้องต้นอย่างง่าย



การวาดภาพนกเบื้องต้น
1. คะแน ขนาดหัวและลำตัวของนกให้ใกล้เคียงกับ นกที่จะวาด
2. ใส่ปีกกะหาง
3. เติมตากะปาก
4. เติมขนปีก กะ ม่านตา
5-6. เก็บรายละเอียดขั้นสุดท้ายนกแต่ละชนิดก็มี ลักษณะ สีสัน ลูกตา หาง ต่างกัน บางตัวอาจจะมีหงอน เหนียง ฯลฯ ก็ ใส่ให้ครบ
*****ท้ายนี้อยากฝากกับเพื่อนๆว่าการวาดภาพเป็นการฝึกสมาธิที่ดีมากอย่างหนึ่ง...ลองวาดกันดูนะคะ*****

การเรียนโปรแกรม photoshop

การเรียนโปรแกรม Photoshop
***การตัดภาพด้วยเครื่องมือแบบต่างๆ***
การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี
1. การตัดภาพด้วย Magic Wand Tool เครื่องมือนี้จะทำการเลือก
Selection โดยการเลือกเอาส่วนที่เป็นสีแนวเดียวกันไว้ด้วยกัน

เครื่องมือ Magic Wand Tool
เลือกวัตถุในภาพที่มีสีเดียวกัน ในขอบเขตเดียวกัน
สามารถทำการเลือกเพิ่มได้ โดยการกด Shift ค้างไว้

สามารถตัดภาพ โดยดึงออกโดยใช้เครื่องมือ Move Tool
2. ตัดภาพโดยใช้ Lasso Tool เครื่องมือนี้นำมาใช้สำหรับในการเลือกพื้นที่ของภาพทีเราต้องการจะนำไปใช้เ

ครื่องมืออันนี้จะอยู่ในหมวด Lassoเครื่องมือ Polygonal นี้เป็นเครืองมือที่ 2 การใช้งานคล้ายๆ กับ Lasso
เราลองมาใช้กันดูดีกว่า เครื่องมือนี้อยู่ที่ไหน ?
***ตัวอย่างการใช้งาน***

การเลือกส่วนที่เป็นตาของเป็ด
1.> ให้เราเปิดภาพเป็ดขึ้นมา ดังภาพ

2.> หลังจากนั้นเลือกเครื่องมือ Polygonal Lasso
แล้วใช้เครื่องมือคลิกให้รอบส่วนที่เราต้องการ ดังภาพ

3.> หลังจากนั้นเราก็สามารถนำส่วนที่เราเลือกไปใช้กับงานที่เราต้องการได้
pen tool จะอยู่ในรูปของปากกา
เลือกทำการปรับเปลี่ยนลักษณะเป็น Path

ทำการวาดเส้นรอบวัตถุที่จะทำการเลือกตัด จนได้เป็นเส้นปิด

กด Ctrl + Enter เพื่อสร้าง Selection และ
ใช้ Move Tool ในการตัดเลื่อนวัตถุ

ที่มา: http://gotoknow.org/blog/com

เรื่องวันนี้

สิ่งที่ได้จากการเรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้คือประโยชน์ที่ได้รับจากการที่ได้เรียนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้มากมาย อาทิเช่น
1. มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัย
2. ขั้นตอนการลงเส้น
3. การวาดภาพโดยการใช้ปากกา
4. ขั้นตอนการวาดภาพ
5. วิธีการสร้างสื่อโดยการเขียนภาพ
6. การเลือกโทนสีเพื่อระบายภาพ
7. การผลิตสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Power Point และ Photoshop
8. การสร้าง blogger

การเดินทางที่แสนไกล
กับ
เพื่อนที่แสนดีคนหนึ่ง
ฤดูกาลผันผ่าน
อาจเปลี่ยนวันวานตามไปได้
แต่ตราบใดที่ภาษายังไม่เปลี่ยนไป
ความว่า..เพื่อน..เขียนอย่างไร
ความหมายย่อมเหมือนเดิม
1. การออกแบบสื่อการเรียนรู้ การออกแบบสื่อการเรียนรู้ ( Material Design ) สิ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ จัดหา จัดเตรียม และเลือกใช้ประกอบ การเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงหลักการ - วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน - รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้ - ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม - สภาพการเรียน - ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ งบประมาณ - ราคาที่เหมาะสม ในการพิจารณาออกแบบสื่อการเรียนรู้ เพื่อประกอบการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ บุคลากรที่รับผิดชอบในการจัดหาสื่อเพื่อประกอบการเรียนรู้ คือ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา ครูผู้สอน หรือผู้รับผิดชอบสาระการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ
1. การออกแบบการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
2) ลักษณะเฉพาะของสื่อต่าง ๆ การนำไปใช้ และการออกแบบ สามารถเร้าความสนใจ ให้ความหมาย และมีผลต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง
3) การจัดหาสื่อการเรียนรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถาน ศึกษา ความคุ้มค่าในการผลิตเอง การหายืม การปรับปรุงดัดแปลง หรือเลือกจัดซื้อ
4) การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้

2. การวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอน การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนคือ ?
การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การนำผลจากการวัดผลสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย (Interretation) และตัดสินคุณค่า (Value Judgement) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามที่วัตถุประสงค์กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่ดีเพียงใด มีลักษณะถูกต้องตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ประการใด จะเห็นว่า การประเมินผลสื่อการเรียนการสอน กระทำได้โดยการพิจารณาข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อนั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อจึงมีความสำคัญ การวัดผลจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการเหตุผลและเป็นระบบเพื่อที่จะได้ข้อมูลที่เที่ยงตรง สามารถบอกศักยภาพของสื่อได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงเพื่อประโยชน์ของการประเมินผลสื่ออย่างเที่ยงตรงต่อไป
การวัดผลสื่อการเรียนการสอน หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบ ผู้กระทำการวัดและประเมินผลอาจเลือกใช้ตามความเหมาะสม ที่นิยมกันมากได้แก่ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบตรวจสอบรายการ (Checklist) เป็นต้น
การตรวจสอบแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ คือ
  • การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
  • การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดการตรวจสอบทั้งสองส่วนตามลำดับต่อไปนี้
การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural basis) การตรวจสอบในขั้นนี้เป็นการตรวจสอบสิ่งที่ปรากฏในสื่อ ซึ่งสามารถสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น และกาย ถ้าส่วนที่ปรากฏภายในมีลักษณะชัดเจน ง่าย และสะดวกแก่การรับรู้ สื่อนั้นเป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงในการสื่อสาร การตรวจสอบที่สำคัญในขั้นนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ลักษณะสื่อและเนื้อหาสาระในสื่อ
๑. ลักษณะสื่อปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อให้มีลักษณะต่างๆ คือ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความงาม ดังนั้นในการตรวจสอบลักษณะสื่อ ผู้ตรวจสอบจะมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก
๑.๑ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ สื่อแต่ละประเภทมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ สื่อการเรียนการสอนบางประเภทจะทำหน้าที่เพียงให้สาระข้อมูล บางประเภทจะให้ทั้งสาระและกำหนดให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยในสื่อบางประเภท เช่น สื่อสำหรับการศึกษารายบุคคล สื่อที่เสนอเนื้อหาสาระข้อมูลอาจจะเสนอได้หลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะให้ความเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมมากน้อยแตกต่างกัน ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือของจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลใช้ประสาทสัมผัสได้มากช่องรับสัมผัสกว่าสื่ออื่น ที่มีความเป็นรูปแบบรองลงมา ได้แก่ ของตัวอย่าง ของจำลอง เป็นต้น สื่อบางชนิด ให้สาระเป็นรายละเอียดมาก บางชนิดให้น้อย บางชนิดให้แต่หัวข้อ เช่น แผ่นโปร่งใส สื่อบางประเภทสื่อสารด้วยการดู บางประเภทสื่อสารทางเสียง หรือบางประเภทสื่อสารด้วยการสัมผัส ดมกลิ่น หรือลิ้มรส เช่น การสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งมีหลายชนิด ตั้งแต่สื่อประเภทกราฟิกอย่างง่ายไปจนถึงภาพเหมือนจริง สื่อประเภทกราฟิกนั้น ต้องเสนอความคิดหลักเพียงความคิดเดียว ภาพก็มีหลายชนิด ภาพ ๒ มิติ หรือภาพ ๓ มิติ ภาพอาจจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวเร็ว บางชนิดเป็นลายเส้น รายละเอียดน้อย เช่น ภาพการ์ตูน ซึ่งต่างจากภาพเหมือนจริงที่ให้รายละเอียดมาก เป็นต้น รูปแบบของการเสนอภาพนั้น อาจจะเสนอภาพหลายภาพพร้อมกัน (Simultaneous Images หรือ Multi-Images) หรืออาจจะเสนอภาพที่ละภาพต่อเนื่องกัน (Sequential Images) เหล่านี้เป็นต้น ลักษณะที่แตกต่างกันนี้ย่อมให้คุณค่าแตกต่างกัน จะเห็นว่า ในปัจจุบันสื่อแต่ละประเภทมีความหลากหลายในรูปแบบ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิธีการสอน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่และทฤษฎีการเรียนการสอนที่นำมาเน้นใหม่ เช่น การประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ในการเรียนการสอน ทำให้สื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทมีมากรูปแบบอันนำมาซึ่งประโยชน์ต่อการสื่อสาร เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งแต่เดิมได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพฤติกรรมในการสร้างบทเรียน (Behavioral Psychology) CAI นั้นมีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แต่ในปัจจุบันการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ทำให้เกิด CAI ในลักษณะของเกมส์ (Games) สถานการณ์จำลอง (Simulation) และโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ (Artificial Intelligence) แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้สื่อการเรียนการสอนจะมีรูปแบบที่หลากหลาย สื่อที่ผลิตก็จะต้องคงลักษณะเฉพาะตามประเภทสื่อไว้ได้ ดังนั้นในการตรวจสอบสื่อ ผู้ตรวจสอบจะต้องพิจารณาความถูกต้องของลักษณะสื่อ ทั้งแต่ละองค์ประกอบและโดยส่วนรวมในอันที่จะนำไปสู่การทำงานที่สมบูรณ์ตามศักยภาพของสื่อแต่ละประเภท และตามวัตถุประสงค์ของการผลิตสื่อ
๑.๒ มาตรฐานการออกแบบ (Design Standards) การออกแบบสื่อการเรียนการสอนเป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ด้วยการนำส่วนประกอบต่างๆ ตามประเภทของสื่อและองค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยงข้องมาพิจารณา เพื่อประโยชน์ของการสื่อสาระตามความคาดหมาย องค์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในที่นี้ได้แก่ จิตวิทยาการเรียนรู้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย หลักการสอน กระบวนการสื่อสารและลักษณะเฉพาะเรื่อง เป็นต้น การออกแบบสื่อที่ดีจะต้องช่วยทำให้การสื่อสาระชัดเจนและเป็นที่เข้าใจง่ายสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ต้องไม่เป็นการออกแบบที่ทำให้การสื่อสารคลุมเครือ และสับสนจนเป็นอุปสรรคต่อการสื่อความเข้าใจ ดังนั้นในการตรวจสอบสื่อในขั้นนี้ สิ่งที่ผู้ตรวจสอบสื่อจะต้องพิจารณา คือ การชี้หรือแสดงสาระสำคัญตามที่ต้องการได้อย่างน่าสนใจ กระชับและได้ใจความครบถ้วน มีความเหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม เช่น จำนวนเวลาเรียน จำนวนบุคคลผู้ใช้สื่อ วิธีการใช้สื่อ เป็นต้น มีความน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา เร้าใจ และน่าเชื่อถือ อนึ่ง หากสื่อนั้นมีกิจกรรมหรือตัวอย่างประกอบ กิจกรรมจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระ ทั้งกิจกรรมและตัวอย่างต้องสามารถจุและตรึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมายได้ตลอดเวลา และนำไปสู่การขยายหรือเสริมสาระที่ต้องการเรียนรู้ให้กระจ่างชัด แต่ถ้าสื่อนั้นเป็นวัสดุกราฟิก ก็จะต้องเป็นการออกแบบที่ลงตัว มีความสมดุลย์ในตัว นอกจากนี้ในบางครั้งอาจใช้การออกแบบแก้ข้อจำกัดหรือข้อเสียเปรียบของลักษณะเฉพาะบางประการของสื่อ แต่การกระทำเช่นนี้จำเป็นต้องมีผลงานวิจัยรองรับตัวอย่างเช่นโปรแกรมการสอนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer-based instructional programs) ซึ่งเป็นบทเรียนสำเร็จรูปรายบุคคล ตามปกติบทเรียนลักษณะนี้ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนนานเท่าไรก็ได้ แต่นักวิจัยกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย Belland, Taylor, Canelos, Dwyer และ Baker (๑๙๘๕) ตั้งประเด็นสงสัยว่า การให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้เวลาเรียนนานเท่าใดก็ได้นั้น อาจจะเป็นผลทำให้ผู้เรียนไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า ความตั้งใจเรียนเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ คณะวิจัยจึงได้ทำการวิจัยโดยกำหนดเวลาเรียนในโปรแกรมกรสอนด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งการกำหนดเวลาเรียนนี้กระทำได้ เพราะอยู่ในสมรรถวิสัยตามศักยภาพคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมที่กำหนดเวลาเรียน ผนวกกับให้เวลาสำหรับกระบวนการคิด ช่วยให้ผลการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญด้วย ตัวอย่างงานวิจัยที่ยกมาข้างบนนี้ ชี้ให้เห็นว่า กรออกแบบโดยการกำหนดเวลาเรียนในบทเรียน และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สามารถกำหนดเวลาเรียนในบทเรียนได้ ช่วยแก้จุดอ่อนหรือข้อจำกัดของลักษณะเฉพาะบทเรียนสำเร็จรูปรายบุคคลได้เป็นอย่างดี งานวิจัยในลักษณะนี้จะช่วยนักออกแบบสื่อให้มีความมั่นใจในการตัดสินใจเลือกใช้สื่อที่พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการออกแบบ
๑.๓ มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical standards) เทคนิควิธีการเสนอสื่อ เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญประการหนึ่งที่ควรเน้นในที่นี้คือ เทคนิควิธีที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอน ต้องเป็นเทคนิควิธีการทางการศึกษากล่าวคือ เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้การเสนอสาระเป็นไปอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือหรือไม่ซ่อนเร้นสาระเพื่อให้มีการเดาในด้านการนำเสนอต้องน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมือน ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย มีความกระชับและสามารถสรุปกินความได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่วัตถุประสงค์กำหนด อีกทั้งเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง ส่วนในด้านการใช้สื่อ ควรเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ความคล่องตัวในการใช้ ใช้ง่าย และมีความปลอดภัย
3. หลักในการใช้สื่อหลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน

4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ด
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10.ช่วยเวลาความสนใจสื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ที่มา http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281

4. เราสามารถจัดประเภทของสื่อการสอนได้ดังนี้ ประเภทของสื่อการสอนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดประเภทสื่อการสอนนั้นมีหลากหลาย ในที่นี้จะพิจารณาจัดกลุ่มการแบ่งประเภทของสื่อการสอนเป็น 2 มุมมอง ดังนี้
ก. การจัดประเภทตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากสื่อการสอน
ข. การจัดประเภทตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังต่อไปนี้
การจัดประเภทของสื่อการสอนตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้การจัดประเภทของสื่อการสอนโดยนำประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดแบ่งประเภทของสื่อการสอน ได้แก่ แนวคิดของโฮบาน และคณะ (1937)
แนวคิดของเอ็ดการ์ เดล (1946)
แนวคิดของบรูเนอร์ (1966)
แนวคิดมีดังนี้แนวคิดของโฮบานและคณะโฮบาน และคณะ (1937) แบ่งสื่อการสอนออกเป็นกลุ่มตามระดับของของความเหมือนจริง ในการพัฒนาแนวคิดนี้ โฮบานเริ่มต้นจากการนำสื่อการสอนต่างๆ มาจัดลำดับตามความเป็นนามธรรม (Abstract) ไปสู่ระดับที่เขาเรียกว่า "สถานการณ์รวม" (Total situation) โฮบานจัดให้ "การใช้คำ" (Word) อยู่ในลำดับแรกหรือลำดับที่สูงที่สุดของสื่อการสอนที่มีความเป็นนามธรรม (C.F. Hoban, Sr., C.F.Hoban, Jr., and Samuel B. Zissman 1937 อ้างใน Heinich และคณะ 1996: 16)
แนวคิดของเอ็ดการ์ เดลในปี ค.ศ. 1946 เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้เสนอแนวคิดในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน โดยพัฒนาจากแนวคิดของโอบานและคณะในด้านความเป็นรูปธรรมของสื่อการสอน แนวคิดของเดลได้รับความนิยมอย่างมาก เรียกแนวคิดนี้ว่า "กรวยประสบการณ์" (Cone of Experience) ซึ่งเอ็ดการ์ เดล สื่อสารแนวคิดของเขาด้วยภาพกรวยคว่ำ (Edgar Dale: 1946 อ้างใน Heinich และคณะ 1996) ในภาพดังกล่าวเริ่มต้นจัดกลุ่มสื่อการสอนจากสื่อที่ผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์จริงของการสอน ไปสู่ระดับที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์เหตุการณ์จริง และท้ายที่สุดผู้เรียนจะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์สัญลักษณ์ ซึ่งแสดงแทนเหตุการณ์จริง โดยเดลได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็น 11 กลุ่ม ตามระดับการมีส่วนร่วมของผู้เรียน หรือระดับประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะได้รับ ดังนี้
1.ประสบการณ์ตรง (Direct or Purposeful Experiences) เป็นสื่อการสอนที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถรับรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริงและได้สัมผัสด้วยตนเองจากประสาทสัมผัสทั้งห้า ตัวอย่างเช่น การทดลองผสมสารเคมี การฝึกหัดทำอาหาร การฝึกหัดตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
2.ประสบการณ์จำลอง (Contrived experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดแต่ไม่ใช่ความเป็นจริง อาจเป็นสิ่งของจำลอง หรือสถานการณ์จำลอง ตัวอย่างเช่น การฝึกหัดผ่าตัดตาด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การฝึกหัดขับเครื่องบินด้วยเครื่อง Flight Simulator เป็นต้น
3.ประสบการณ์นาฏการหรือการแสดง (Dramatized Experience) เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ ในการแสดงบทบาทสมมติ หรือการแสดงละคร เพื่อเป็นประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน นิยมใช้สอนในเนื้อหาที่ข้อมีจำกัดเรื่องยุคสมัยหรือเวลา
4.การสาธิต (Demonstration)เป็นสื่อการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการดูการแสดงหรือการกระทำประกอบคำอธิบาย เพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น ๆ เช่น การสาธิตการอาบน้ำเด็กแรกเกิด การสาธิตการแกะสลักผลไม้ เป็นต้น
5.การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกชั้นเรียนโดยการท่องเที่ยว หรือการเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ โดยมีการจดบันทึกสิ่งที่พบ ตลอดจนอาจมีการสัมภาษณ์บุคคลที่ดูแลสถานที่เยี่ยมชม
6.นิทรรศการ (Exhibits) เป็นสื่อการสอนที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ที่ได้จัดแสดงไว้ ในลักษณะของนิทรรศการ หรือการจัดป้ายนิเทศ ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสาระและเนื้อหาที่แสดงไว้ในนิทรรศการหรือป้ายนิเทศ
7.โทรทัศน์ (Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เป็นสื่อในการสอนโดยเฉพาะ เน้นที่โทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอน เป็นการสอนหรือให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนและทางบ้าน ใช้ทั้งระบบวงจรปิดและวงจรเปิด ซึ่งการสอนอาจเป็นการบันทึกลงเทปวีดิทัศน์ หรือเป็นรายการสดก็ได้ การใช้สื่อการสอนในกรณีนี้ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการชมโทรทัศน์
8.ภาพยนตร์ (Motion Picture)เป็นการใช้ภาพยนตร์ที่มีลักษณะเป็นภาพเคลื่อนไหว มีเสียงประกอบ และได้บันทึกลงไว้ในแผ่นฟิลม มาเป็นสื่อในการสอน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หรือได้รับประสบการณ์ทั้งจากภาพและเสียง หรือจากภาพอย่างเดียวก็ได้ในกรณีที่เป็นภาพยนตร์เงียบ
9.ภาพนิ่ง วิทยุ และแผ่นเสียง (Recording, Radio, and Still Picture) เป็นการใช้สื่อการสอนที่เป็น ภาพนิ่ง วิทยุ หรือเทปบันทึกเสียง เพื่อให้ประสบการณ์การเรียรู้แก่ผู้เรียน สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่ผู้เรียนสัมผัสได้เพียงด้านเดียว เช่น สื่อภาพนิ่งซึ่งอาจเป็นรูปภาพ สไลด์ หรือภาพวาด ภาพล้อ หรือภาพเหมือนจริง ซึ่งผู้เรียนเรียนรู้จากการดูภาพ สื่อวิทยุเป็นสื่อที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการฟังเสียง เป็นต้น ข้อมูลหรือสาระความรู้ที่บันทึกอยู่ในสื่อประเภทนี้จะสามารถให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนได้ ถึงแม้ผู้เรียนจะอ่านหนังสือไม่ออก ก็สามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ เนื่องจากเป็นการจัดประสบการ์ให้ผู้เรียนโดยผ่านการฟังหรือดูภาพ
10.ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)สื่อประเภทนี้ ได้แก่ พวกวัสดุกราฟิกทุกประเภท เช่น แผนที่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ การ์ตูนเรื่อง หรือสัญลักษณ์รูปแบบต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย การใช้สื่อการสอนระเภทนี้ ผู้เรียนจำเป็นต้องมีพื้นฐานในการทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่นำมาใช้ในการสื่อความหมาย จึงจะสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอโดยสื่อได้เป็นอย่างดี เนื้อหาบทเรียนจะถูกสื่อความหมายผ่านทางสัญลักษณ์ หรืองานกราฟิก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการตีความสัญลักษณ์ที่นำมาใช้สื่อความหมาย
11.วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) เป็นสื่อการสอนที่อยู่ในรูปแบบของคำพูด คำบรรยาย ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์พิเศษต่างๆ ที่ใช้ในภาษาการเขียน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนโดยผ่านสื่อประเภทนี้ จัดว่าเป็นประสบการณ์ขั้นที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุด
แนวคิดของบรูเนอร์นักจิตวิทยาชื่อ บรูเนอร์ (Jerome S. Bruner) ได้พิจารณาการแบ่งประเภทสิ่อการสอนในอีกด้านหนึ่งซึ่งคู่ขนานกับแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล กล่าวคือ ในการจัดแบ่งประเภทของสื่อการสอน บรูเนอร์เน้นที่ธรรมชาติการทำงานของสมองผู้เรียน มากกว่าธรรมชาติของสิ่งเร้าที่นำมาเสนอต่อผู้เรียน โดยบรูเนอร์ได้แบ่งกลุ่มสื่อการสอนออกเป็น 3 กลุ่ม ที่คู่ขนานกับแนวคิดของเอ็ดการ์ เดล ได้แก่
กลุ่มการกระทำ (Enactive)
กลุ่มภาพ (Iconic)
กลุ่มนามธรรม (Abstract) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้กลุ่มการกระทำ (Enactive) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเองจากการลงมือกระทำ ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มการกระทำ จะเป็นประสบการณ์
ระดับที่ 1 ถึง 6 คือ ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์รอง ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง การสาธิต การศึกษานอกสถานที่ และนิทรรศการ กลุ่มภาพ (Iconic) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์หรือได้รับถ่ายทอดประสบการณ์ผ่านสื่อ เปรียบได้กับการเรียนรู้ด้วยภาพ ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มภาพ จะเป็นประสบการณ์
ระดับที่ 7 ถึง 9 กลุ่มนามธรรม (Abstract) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากสัญลักษณ์ เช่น ตัวอักษร เครื่องหมาย หรือคำพูด ซึ่งเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกับกลุ่มอื่น เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มนามธรรมจะเป็นประสบการณ์
ระดับที่ 10 ถึง 11 การแบ่งประเภทสื่อการสอนตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งานการจัดประเภทของสื่อการสอนตามแนวคิดในกลุ่มนี้จะนำลักษณะทางกายภาพของสื่อการสอน หรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดประเภทของสื่อการสอน แนวคิดการแบ่งประเภทสื่อการสอนในกลุ่มนี้ เช่น แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์ แนวคิดของอีลี และแนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์เดอ คีฟเฟอร์ (De Kieffer) แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (อ้างถึงใน กิดานันท์ 2540: 80)
1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (Projected Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉาย สไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น
2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (Non projected Aids) ตัวอย่างเช่น ภาพนิ่ง แผนภูมิ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น
3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ แผ่นเสียง เป็นต้น
สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material) เป็นสิ่งที่ได้รับการบรรจุเนื้อหาสาระ เรื่องราว หรือความรู้ไว้ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น สไลด์ (บรรจุเรื่องราวไว้ในลักษณะภาพนิ่ง) หนังสือ (บรรจุเรื่องราว เป็นตัวอักษรหรือสัญลักษณ์) แผ่นเสียง เทปเสียง (บรรจุเรื่องราวไว้เป็นเสียง) สื่อประเภทวัสดุ สามารถจำแนกออกได้อีก 2 ชนิด คือ
1.1 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ จึงจะสามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ไปยังผู้เรียนได้ เช่นแผ่นเสียง เทปวีดิทัศน์ ภาพโปร่งใส เป็นต้น
1.2 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่สามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ได้โดยตัวเอง เช่น แผนภูมิ แผนภาพ ลูกโลก รูปภาพ หนังสือ เ็ป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ (Hardware) เป็นสิ่งที่เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล ความรู้ หรือสาระ ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นต้น
3. สื่อการสอนประเภทเทคนิค และวิธีการ (Techniques and Methods) หมายถึง สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน หรือเทคนิค ที่ไม่มีลักษณะกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้ ตัวอย่างเช่น การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต การทดลอง เป็นต้น
5. ความสำคัญของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้

1. สื่อการสอน ช่วยสร้างรากฐานที่เป็นรูปธรรมขึ้นในความคิดของผู้เรียน การฟังเพียงอย่างเดียวนั้น ผู้เรียนจะต้องใช้จินตนาการเข้าช่วยด้วย เพื่อให้สิ่งที่เป็นนามธรรมเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นในความคิด แต่สำหรับสิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนย่อมไม่มีความสามารถจะทำได้ การใช้อุปกรณ์เข้าช่วยจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสร้างรูปธรรมขึ้นในใจได้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
เปรื่อง กุมุท ให้ความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น เมื่อทราบความสำคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน ดังจะกล่าวต่อไปดังนี้
สื่อการสอนความหมายของสื่อการสอนสื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php

ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php
การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
ลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
หลักการออกแบบสื่อ
1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต-การสอนกลุ่มเล็ก-การสอนเป็นรายบุคคลกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนตร์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว
การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถือหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
องค์ประกอบของการออกแบบ
1.จุด ( Dots )
2.เส้น ( Line )
3.รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4.ปริมาตร ( Volume )
5.ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7.สี ( Color )

8.น้ำหนักสื่อ ( Value )
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl
การใช้สื่อการสอน
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
4. ใช้สื่อการสอนเพื่อย่อสรุปเนื้อหาสำคัญของบทเรียนเกิดเป็น Concept ในเนื้อหาแต่ละเรื่องใช้สื่อการสอนเพื่อส่งเสริมผู้เรียนให้มีการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้จักขั้นตอนและมีความคิดสร้างสรรค์ (Control and Creativity)
ที่มา: http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl

ภูมิใจนำเสนอ

สวัสดีคะ ดิฉันนางสาว สุกัญญา แกประโคน (กระต่าย)
ภูมิใจที่จะนำเสนอเรื่องราวต่างๆมากมายที่น่าสนใจ
ซึ่งสามารถเลือกอ่าน เลือกดูและเลือกที่จะชมได้เลยนะคะ
ดูซิมาจากความสามาถรของเพื่อนๆเรา
พอจะเดาได้ไหมว่ามีรูปอะไรบ้าง


โรคไทรอยด์

โรคไทรอยด์ เป็นโรคประจำตัวของนักศึกษาคนหนึ่งในขณะนี้ ที่อยู่ของต่อมไทรอยด์

***ลักษณะของต่อมไทรอยด์ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดยาว 4 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกปกติ
***ต่อมไทรอยด์จะหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่เหมาะสม ฮอร์โมนที่สำคัญคือ tetraiodothyronine (thyroxine หรือ T4) และtriiodothyronine (T3) โดยฮอร์โมนนี้จะมีธาตุไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ ถ้าฮอร์โมนหลั่งน้อยร่างกายจะเผาผลาญน้อยลง แต่ถ้าหากฮอร์โมหลั่งมากร่างกายจะมีการเผาผลาญอาหารมากทำให้น้ำหนักลดสาเหตุโรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน (หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรืออิมมูนซิสเต็ม) ซึ่งโรคนี้ผู้ป่วยมีความเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน การรักษาจึงทำได้ในระดับที่ควบคุมให้ภาวะของโรคนั้นเบาลง หรือทำให้โรคสงบ และทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ซึ่งการรักษาในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะให้กินยาต่อเนื่องในระยะยาว ในขณะที่วงการแพทย์ยังพยายามหาทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุต่อไปสาเหตุที่มาจากพันธุกรรมและไวรัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ แต่สำหรับความเครียด และภูมิคุ้มกันนั้น เป็นเรื่องที่เราสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้ โดยธรรมชาติ เวลาคนเราเครียด ร่างกายจะมีกลไกที่ทำให้ฮอร์โมนหลั่งออกมาจากส่วนต่างๆ เพื่อช่วยให้มีพละกำลัง มีความสามารถ หรือมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าภาวะปกติ มาขับดันตัวเราให้เอาชนะความกดดันนั้นไปได้ และผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการในร่างกายนั้นมีมากมาย โดยเฉพาะในต่อมไร้ท่อ ไม่ว่าจะเป็นต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง รวมทั้งในระดับเซลล์ ระดับอวัยวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายตามมา ที่สำคัญคุณหมอยังเล่าให้ฟังถึงผลการวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าความเครียดมีส่วนไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันตนเองที่อาจจะไม่ค่อยดีอยู่แล้ว ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาประเภทความผิดปกติของไทรอยด์ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มี 3 แบบ คือ
-ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน
-ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น (ไฮเปอร์ฯ)สำหรับโรคไทรอยด์ที่เกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์เกิน จะทำให้มีอาการ
  • หัวใจเต้นแรง
  • ใจสั่น
  • นอนไม่หลับ
  • น้ำหนักลด
  • ที่สำคัญอารมณ์แปรปรวนบ่อย

-Hyperthyroid คอพอกเป็นพิษ หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติเป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญมากเกินไปสาเหตุโรค Grave's disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อมโรค Multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อน [nodule] ในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียว หรือหลายก้อนThyroiditis ช่องแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษอาการ

*อารมณ์แปรปรวน

*นอนไม่หลับ

*กล้ามเนื้ออ่อนแรง

*ตาโปน

*มือสั่น

*ใจสั่น เหนื่อยง่าย

*คอพอก

*ประจำเดือนผิดปกติ

*ขี้ร้อน

*น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี

***การวินิจฉัยเจาะเลือดพบว่า ค่า T3หรือ T4 สูง และค่า TSH ต่ำทำไทรอยด์สแกน เพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือ มีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบการรักษาการรักษามีได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษามีได้ 3 วิธี คือ

-การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole

-การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodineเมื่อผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับ iodine ที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยา thyroid hormone ไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง

-การผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดมีความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อมยาอื่น beta blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรคฮอร์โมนไทรอยด์ขาดลักษณะฮอร์โมนไทรอยด์ขาด หรือ Hypothyroidismฮอร์โมนไทรอยด์ขาด คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาน้อยเกินความต้องการ (ไฮโปฯ)ส่วนคนที่ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ชีพจรจะเต้นช้า ขี้หนาว ความจำเสื่อม บวม ท้องผูก หากเป็นมากๆ และนานๆ จะทำให้สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเล็กแคระแกรน และเป็นโรคเอ๋อได้ สาเหตุของโรคลักษณะเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ทำให้ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) สร้างฮอร์โมน Thyroid stimulating hormone (TSH) ออกมามากเพื่อกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นที่เราเรียกว่าคอพอก goiterสาเหตุ

-เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ thyroiditis

-เกิดจาการตัดต่อมไทรอยด์มากเกินไป

-เกิดจากการได้น้ำแร่ที่ใช้รักษาคอพอกเป็นพิษอาการ

*ผู้ป่วยที่เป็นไม่มากอาจจะไม่อาการอะไร หากไม่รักษาโรคจะเป็นมากขึ้นจนเกิดของอาการต่อมไทรอยด์

*ทำงานน้อย

*อ่อนเพลีย

*ผิวหยาบและแห้ง ผิวซีด และผมแห้ง

*อารมณ์ผันผวน

*เสียงแหบ

*ขี้ลืม

*น้ำหนักเพิ่ม

*กลืนลำบาก

*ขี้หนาว

*เบื่ออาหารการวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจหา TSH T3 T4จะพบว่าค่า T4 ปกติหรือต่ำแต่ค่า TSH จะสูงเป็นการยืนยันการวินิจฉัยการรักษาโดยการให้ thyroid hormone ไปตลอดชีวิตโดยจะต้องเริ่มให้ในขนาดน้อยแล้วค่อยปรับยาจนกระทั่งระดับ T4 และ TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ควรเปลี่ยนยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ควรตรวจหาระดับ TSH เป็นระยะเพื่อปรับยาไทรอยด์การเจาะเลือดปีละครั้งหากการวินิจฉัยไม่ผิดพลาดท่านจะต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต ไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าท่านจะป่วยจากโรคอื่นต่อมไทรอยด์กับสตรีจะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร ปัญหาที่พบได้บ่อยคือการตั้งครรภ์พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษหรือเป็นโรค Graves' disease เมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษา Graves' disease ด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือนการรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ Graves' disease ขณะตั้งครรภ์มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU Metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้การเป็นหมันทั้งคอพอกเป็นพิษหรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลงการมีประจำเดือนคอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคนปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประจำเดือนมากกว่าคนปกติมีเพื่อนไว้พูดคุยคลายทุกข์ควรพูดคุยระบายออกมากับครอบครัว หรือเพื่อนที่รู้ใจ โดยเฉพาะเพื่อนที่มีปัญหาเดียวกัน ซึ่งจะคอยรับฟังและดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดีหากิจกรรมทำเพื่อความเพลิดเพลินไม่ว่าการวิธีเขียนไดอารี่ วาดภาพ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นกว่าการนั่งจมจ่อมอยู่กับปัญหาการรับประทานน้ำแร่เนื่องจากว่าไอโอดินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ การให้ไอโอดินที่อาบรังสีจะทำให้รังสีทำลายเนื้อมะเร็ง การรักษาโดยวิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทาน Iodine ที่อาบรังสีซึ่งอาจจะทำเป็นรูปสารละลาย หรือแคปซูล I-131 นี้จะไปจับกับเนื้อไทรอยด์อย่างรวดเร็ว และเริ่มทำลายเนื้อไทรอยด์ โดยจะเห็นผลใน 6-18 สัปดาห์ ก่อนได้รับสารนี้ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้งการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับน้ำแร่หลักการรักษาผู้ป่วยด้วยน้ำแร่คือการนำเอา Iodine ไปอาบรังสีเพื่อรักษา เมื่อท่านกินน้ำแร่ต่อมไทรอยด์จะจับแร่ดังกล่าวไว้ รังสีก็จะทำลายต่อมไทรอยด์ แม้ว่ารังสีที่ได้รับจะมีปริมาณไม่มากแต่ท่านควรป้องกันคนใกล้ชิดของท่านมิให้ได้รับรังสีนั้นโดยวิธีการดังนี้ให้อยู่ไกลผู้อื่น ช่วง 2-3 วันแรกให้แยกตัวจากผู้อื่น โดยการแยกห้องนอน งดการกอด หรือมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงคนท้อง และเด็กลดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับผู้อื่น เนื่องจากการปริมาณรังสีที่ได้รับขึ้นกับระยะเวลาที่สัมผัสดังนั้นควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นให้น้อยที่สุดรักษาสุขลักษณะให้ดีที่สุด ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ให้ชักโครก 3-4 ครั้ง แยกถ้วยชามอาหารในระยะแรก ล้างห้องน้ำหรืออ่างล้างหน้าทุกครั้งที่เปื้อนน้ำลายหรือเหงื่อของผู้ป่วย