วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

เครือข่ายการเรียนรู้


สังคมไทยปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการพัฒนาสมัยใหม่ ทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมแบบเครือญาติและการแบ่งปันกันโดยตรงระหว่างคนไทยด้วยกันได้คลายพลังลงไปมาก สิ่งที่เข้ามาแทนที่คือการพึ่งพาอาศัยกันในเชิงการแลกเปลี่ยนผ่านกลไกการจัดการ ความสัมพันธ์ใหม่นี้ได้ฉุดดึงญาติพี่น้องให้เข้ามาใกล้ชิดกันอีกครั้งหนึ่ง ชาวบ้านและชุมชนจำนวนมากจึงสามารถรวมตัวกันเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกลไกทางสังคมที่มีพลังในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั้งมวลในปัจจุบันเครือข่ายในความหมายของความสัมพันธ์ใหม่มีบทบาทในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้เอง ประมวลจากการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายที่มีอยู่ในสังคมไทย มีการพูดถึงเครือข่ายในความหมายที่เหมือนและแตกต่างกันไป แบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ
1. กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน จากการสรุปจากประสบการณ์การทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรชุมชน พบว่าเครือข่ายชาวบ้าน หมายถึง การรวมตัวกันของบุคคลและ/หรือองค์กรที่มีกิจกรรมและเป้าหมายใกล้เคียงกัน มีชุดของปัญหาคล้ายคลึงกัน มีการพัฒนากิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ มีการประสานงานและพบปะกันอย่างต่อเนื่อง และมีการกำหนดกฎเกณฑ์ความร่วมมือ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลและ/หรือองค์กรที่เข้าร่วมในกิจกรรมของเครือข่าย บนพื้นฐานความเป็นอิสระของทุกองค์กรชุมชน และ เครือข่ายชาวบ้าน คือ รูปแบบความสัมพันธ์ของบุคคลและ/หรือชุมชน เพื่อการแก้ปัญหา เอาชนะข้อจำกัดและพัฒนาตนเอง เครือข่ายเป็นกระบวนการทางสังคมที่ประสานพลังของผู้นำชาวบ้านและองค์กรชุมชน เพื่อการแก้ปัญหาที่ไม่สามารถทำได้โดยลำพังหมู่บ้านเดียว เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองในงานพัฒนาสังคม (วิชิต นันทสุวรรณ, 2538)เครือข่ายของชาวบ้านและชุมชนที่มีอยู่ในสังคมไทย โดยทั่วไปเกิดขึ้นบนพื้นฐานของการพึ่งพาอาศัยและการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และพบว่าสิ่งที่สามารถพึ่งพาและแลกเปลี่ยนกันได้นั้น ประกอบด้วย
(1) ความรู้และประสบการณ์
(2) ทรัพยากรธรรมชาติ
(3) ผลผลิต และ
(4) เงินทุน การรวมตัวเป็นเครือข่ายจึงเกิดได้ไม่ยากนัก และพบเห็นอยู่ทั่วไปในชนบท (จำนงค์ แรกพินิจ, 2539)
2. กลุ่มองค์กรรัฐและนักวิชาการ ให้ความหมายที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายไว้ดังนี้เครือข่ายการเรียนรู้ คือ การที่ชาวบ้านรวมตัวกัน ขบคิดปัญหาของเขา รวมพลังแก้ปัญหา และหาผู้นำขึ้นมาจากหมู่ชาวบ้านด้วยกันเอง แล้วรวมตัวกันเพื่อมีอำนาจต่อรอง มีการต่อสู้ทางความคิด มีการเรียนรู้จากภายนอก มีการไปมาหาสู่กันเรียนรู้ดูงานด้วยกัน จนกระทั่งเกิดเป็นกระบวนการแก้ปัญหาได้ การทำมาหากินดีขึ้น เศรษฐกิจแต่ละครอบครัวดีขึ้น (เอกวิทย์ ณ ถลาง, 2539)เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึงการประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความต้องการของบุคคลและชุมชน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2535)เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง ขอบเขตแห่งความสัมพันธ์ของกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีลักษณะประสาน ติดต่อสัมพันธ์ เชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งหรือหลายกิจกรรม ระหว่างคนกับคน คนกับกลุ่ม และกลุ่มกับกลุ่ม" (ประทีป อินแสง, 2539)
3. กลุ่มเครือข่ายเทคโนโลยี ซึ่งใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการสัมพันธ์และเชื่อมโยงคนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสูงในภาคสังคมเมือง ธุรกิจ และสถาบันการศึกษานอกเหนือจากการให้ความหมายของเครือข่ายแล้ว การศึกษาที่เกี่ยวข้องยังให้ความสำคัญกับกระบวนการของเครือข่าย ไว้ดังนี้
1. เวทีชาวบ้าน คือเงื่อนไขเริ่มต้นของเครือข่าย เวทีชาวบ้านจะเชื่อมโยงคนเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิด เครือข่ายการเรียนรู้ ที่ชาวบ้านไปมาหาสู่ แลกเปลี่ยนดูงานและเข้าไปมีบทบาทช่วยงานของหมู่บ้านอื่น ๆ มีการสื่อสารถึงกันตลอด มีการรวมกลุ่มผู้รู้เพื่อแลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ และเป็นครูชาวบ้านให้กับหมู่บ้านต่าง ๆ ที่ต้องการ เครือข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงมีธรรมชาติและพัฒนาการของตนเองแตกต่างกัน ตั้งแต่เป็น เครือข่ายการเรียนรู้ จนถึง องค์กรเครือข่าย ซึ่งเป็นพัฒนาการที่ก้าวหน้าที่สุดของเครือข่ายที่เกิดขึ้น คือ มีการทำกิจกรรมและมีระบบการจัดการร่วมกันขึ้น และประสบการณ์การจัดการร่วมกันของหลายเครือข่าย นำไปสู่ข้อสรุปบางประการ เช่น
2. บทบาทของเครือข่ายไม่ได้อยู่ที่การพัฒนาโครงสร้างองค์กรที่แข็ง มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว แต่เป็นการสร้างกระบวนการความร่วมมือระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งเริ่มต้นจาก การเรียนรู้ คือ การแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ในประเด็น การจัดการ ซึ่งหมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของคนและกิจกรรมเพื่อการพัฒนา ทรัพยากร ซึ่งครอบคลุมทรัพยากรธรรมชาติ โภคทรัพย์และเงินทุน เป็น 3 ประเด็นสำคัญของกระบวนการเครือข่าย
3. การพัฒนาระบบการจัดการในระดับเครือข่ายจะต้องไม่ส่งผลกระทบกับความเป็นอิสระขององค์กรชุมชน ให้รูปแบบวิธีการของแต่ละองค์กรชุมชนที่แตกต่างกันดำรงอยู่ เป็นความหลากหลายในทิศทางเดียวกัน
4. กิจกรรมระดับเครือข่ายที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากกระบวนการนี้ กิจกรรมเริ่มต้นจากความร่วมมือในวงเล็ก ๆ เพื่อสะสมประสบการณ์ แล้วค่อย ๆ พัฒนาระบบการจัดการเฉพาะกิจกรรมที่ชัดเจน และขยายแวดวงความร่วมมือให้กว้างออกไป (วิชิต นันทสุวรรณ, 2538)
5. ผลการศึกษาการเรียนรู้ที่ชาวบ้านและชุมชนเป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าของกระบวนการในทุกภาคของประเทศ พบว่า การเรียนรู้ดังกล่าวประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
*** การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาทั้งของตนเอง ชุมชน และเชื่อมโยงสิ่งเหล่านี้เข้ากับสังคมไทยตลอดจนสังคมโลก
*** การแสวงหาทางออกที่เหมาะสมกับตนเองและชุมชน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การประชุม สัมมนา การศึกษาดูงาน และการเรียนรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ
*** การสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นผลจากการตัดสินใจของตนเองและชุมชน ในแง่ของชุมชนกิจกรรมที่ทำขึ้นนี้อาจเรียกว่า กิจกรรมเครือข่าย เพราะเป็นตัวชักจูงและเชื่อมโยงคนเข้าด้วยกัน
6. การประเมินผลกิจกรรม และนำผลที่ได้ไปแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลของกระบวนการเรียนรู้ที่มีต่อผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ พิจารณาได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความรู้ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่า หรือทั้งหมด (วิมลลักษณ์ ชูชาติ, 2540)ความหมายของเครือข่ายที่มีอยู่ในสังคมไทยจึงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ใหม่ที่มีบทบาท 2 ด้าน คือ
**ด้านการพัฒนา เป็นการร่วมมือกันของคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
**ด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการสร้างเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และความรู้
เป็นเครือข่ายในความหมายทางด้านสังคม และมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการจัดความสัมพันธ์และเชื่อมโยงคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในการเรียนรู้และการพัฒนา ซึ่งเป็นเครือข่ายในความหมายทางด้านเทคโนโลยีและเมื่อการศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน การจัดการศึกษาโดยกระบวนการของเครือข่าย จึงเป็นแนวทางใหม่ของการจัดการศึกษาที่มีลักษณะสำคัญ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สรุปไว้ดังนี้
1. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของทุกคน ทุกเพศ ทุกวัยในลักษณะที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชนต่าง ๆ
2. อาศัยองค์ความรู้เดิมหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในการพัฒนา โดยมีการประยุกต์ใช้วิทยาการสมัยใหม่ด้วยความเหมาะสม
3. มีองค์กรชุมชนเป็นหน่วยของการจัดการศึกษา โดยสมาชิกในชุมชนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ปัญหาของคนในชุมชนร่วมกันการจัดการศึกษาในลักษณะ “เครือข่ายการเรียนรู้” นี้เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน เนื่องจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ปัญหาร่วมกัน ทำให้คนในชุมชนได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์หาสาเหตุ และแนวทางแก้ไข ทดลองปฏิบัติและสรุปบทเรียนร่วมกัน กระบวนการดังกล่าวเมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงของคนในชุมชน จะช่วยให้คนเหล่านี้เรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการเรียนรู้จากปัญหาจริงและจะช่วยให้ชุมชนสามารถยกระดับการเรียนรู้ในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ให้สูงขึ้นได้ในระดับพัฒนาการของชุมชนปัจจุบัน การจัดการศึกษาในแนวทางเครือข่ายการเรียนรู้ ในความหมายที่เป็นเครือข่ายทางสังคมจะมีความเหมาะสมสอดคล้องกว่าความหมายทางเทคโนโลยี



2 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

http://viagraachetergenerique.com/ viagra commander
http://viagracomprargenericoes.net/ viagra generico
http://acquistoviagraitalia.net/ viagra
http://kaufenviagragenerika.net/ viagra preise

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

http://acheter-cialis-pascher.net/ cialis commander http://prezzocialisgenerico.net/ prezzo cialis http://comprarcialissinreceta.net/ cialis