วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การวาดภาพสีน้ำมัน

ภาพเขียนสะท้อนวิถีชีวิต ลุ่มแม่น้ำท่าจีน - แม่กลอง ได้เห็นภาพแล้วคิดถึงนักแล ลุ่มแม่น้ำท่าจีน - แม่กลอง คลองที่ได้ไปล่องเรือมา ลูกลำพูที่เอื้อมมือเก็บ น้ำตาลมะพร้าวเคี่ยวไฟจากเตาถ่าน ลูกจากเฉาะกินเนื้อหวานใส น้ำใจจากชาวคลอง หรือแม้กระทั่งแสงอันน้อยนิดของหิ่งห้อยศิลปินบันทึกเอามาฝากกันคนละหลายมุม ผ่านภาพเขียนของพวกเขา ทั้งสีน้ำ สีอะคริลิค ตลอดจนเทคนิคสีน้ำมัน เห็นภาพแล้วทำให้นึกถึงบรรยากาศจริง ขณะเดียวกันก็ฝันไปได้ไกลกว่า เพราะพลานุภาพแห่งศิลปะนำพานั่นเองตุลาคมปีที่แล้ว ศิลปินพร้อมใจกันลงพื้นที่ ศึกษาสภาพธรรมชาติ วิถีชีวิต ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น ณ จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมกับ คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ในนาม “เครือข่ายวิจัยบูรณาการลุ่มแม่น้ำท่าจีน – แม่กลอง” ซึมซับในสิ่งที่ตาเห็น และใจได้สัมผัส มาถ่ายทอดผ่านงานศิลปะมิได้มุ่งหวังให้คนชมภาพเขียนได้รับอรรถรสจากการชมเพียงอย่างเดียว แต่หวังจะกระตุ้นให้ทุกคนได้เห็นค่าใน “แบบ” ของสิ่งพวกเขาเลือกมาถ่ายทอด เพื่อจะได้ร่วมกันต่อยอดหาแนวทางในการพัฒนาสิ่งนั้นร่วมกันต่อไปอย่าง “ยั่งยืน”งานศิลปะมีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาและกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ ก่อให้เกิดจินตนาการและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งงานศิลปะยังสามารถสื่อคุณค่าและความหมายให้เข้าใจได้ง่ายสำหรับคนทั่วไปได้ทุกเพศทุกวัยนี่กระมังคือเหตุผลที่เหล่าหัวหอกนักวิจัย เลือกศิลปะมาเป็นสื่อเชื่อมความคิดอีกทาง นอกเหนือจากวงเสวนาเครียดๆ และตำราเล่มหนัก55 ภาพเขียนจากแรงบันดาลใจของศิลปิน 22 ท่าน กาพย์ หอมสุวรรณ์,ธนะ เลาหะกัยกุล,ธงชัย รักปทุม,โกศล พิณกุล,อิงอร หอมสุวรรณ์,กัญญา เจริญศุภกุล,พิษณุ ศุภนิมิตร,ปรีชา เถาทอง,ถาวร โกอุดมวิทย์,ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง,ธรรมนูญ เรืองสวัสดิ์,วิเชษฐ์ จันทรนิยม,รุ่งพันธุ์ บุรุษชาติ,นุกูล ปัญญาดีตลอดจน พีระ ศรีอันยู้,สุวัฒน์ วรรณมณี,บุญชนะ ไชยจิตต์,อรัญ หงส์โต,เสงี่ยม ยารังสี,อภิรักษ์ ปันมูลศิลป์,ชวลิต เทียมอัมพร และสมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ ที่กำลังจัดแสดงให้ชม ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ธนาคารกรุงเทพสาขาผ่านฟ้า อาจไม่ได้หมายถึงความสำเร็จของเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมผลักดันและสานต่อไปสู่เป้าหมาย ที่คณะนักวิจัยและทีมงานวาดหวังผ่านในนามโครงการ “การสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน : ศิลปะกับวิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน – แม่กลอง”ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง หนึ่งในจำนวนศิลปินกล่าวถึงภาพของผลไม้พื้นถิ่นอย่างชมพู่มะเหมี่ยว และสาแหรก ที่เขาเลือกวาดว่า อยากให้คนชมได้รับเอาความรู้สึกของความเป็นชนบทอันมีชีวิตที่เรียบง่าย ซึ่งผลไม้ก็ถือเป็นสัญลักษณ์แทนความหมายได้ เจ้าตัวอุตส่าห์เวียนกลับไปยังสมุทรสงครามอีกครั้ง โดยหาซื้อผลไม้ทั้งสองชนิดจากตลาดน้ำอัมพวามารับประทาน“อยากสื่อไปถึงชีวิตที่เรียบง่าย ชีวิตที่ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี ผมวาดภาพนี้อาทิตย์กว่าๆ และทำกรอบด้วยตัวเองอีก 3-4 วัน โดยใช้เชือกคล้ายๆเสื่อทำกรอบ ภาพนี้ถ้าจะให้ดีต้องดูกรอบด้วย” เขาว่า เพราะงานชิ้นจริงนั้นแสดงถึงความคิดองค์รวมทั้งหมดของเขาได้มากกว่าในฐานะที่เป็นผู้หนึ่งที่ได้ไปลงพื้นที่ศึกษาวิถีชีวิตผู้คนลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง แม้จะในระยะเวลาอันสั้นก็ตาม ไพรวัลย์ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า“โดยส่วนตัวผมรู้สึกเป็นห่วงเหมือนกัน ต้องยอมรับว่าความเจริญ เทคโนโลยี ตลอดจนโรงงานต่างๆ มีผลต่อสภาพแวดล้อมของลุ่มแม่น้ำแม่กลองเหมือนกัน ผมยังมีความรู้สึกว่า ลุ่มแม่น้ำแม่กลองถ้าถูกพัฒนาอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัย พัฒนาไปในทิศทางที่ถูกที่ควรจะดีมากๆ จนถึงวันนี้ผมเองก็ยังประทับใจในธรรมชาติที่ได้ไปสัมผัสมา อย่างเช่น หิ่งห้อยในคุ้งน้ำยามค่ำคืน เป็นต้น ขณะเดียวกันยามที่ได้ไปเห็นขยะเกยตื้นขึ้นมาทับถมตรงปากแม่น้ำ ก็ต้องยอมรับว่าเศร้าใจ”ใครที่เท้าไม่เคยได้เหยียบดิน ตาไม่เคยแหงนหน้ามองดูดาว เช้าก็ต้องรีบไปทำงาน ลองหาเวลาไปสัมผัสและรับเอาความรื่นรมย์ของวิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำท่าจีน-แม่กลอง ผ่านภาพเขียนของศิลปินดูสักครั้งไม่แน่คุณอาจจะอยากมีส่วนช่วยดูแลทุกชีวิตที่ถือกำเนิดขึ้น ณ ลุ่มน้ำแห่งนั้น ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ก็ได้
ต่อไปนี้คือตัวอย่างภาพ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 สิงหาคม 2549 12:56 น.
โดย: เตี้ย เตาปูน [4 ส.ค. 49 17:10] ( IP A:203.154.215.21 X: )
http://www.pantown.com/board.php?id=11476&area=4&name=board1&topic=393&action=view

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

order accutane online buy accutane online paypal - accutane reviews on acne.org