โดย: เตี้ย เตาปูน [4 ส.ค. 49 17:10] ( IP A:203.154.215.21 X: )
วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550
การวาดภาพสีน้ำมัน
โดย: เตี้ย เตาปูน [4 ส.ค. 49 17:10] ( IP A:203.154.215.21 X: )
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เครือข่ายการเรียนรู้
5. ผลการศึกษาการเรียนรู้ที่ชาวบ้านและชุมชนเป็นผู้สร้างและเป็นเจ้าของกระบวนการในทุกภาคของประเทศ พบว่า การเรียนรู้ดังกล่าวประกอบด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
**ด้านการพัฒนา เป็นการร่วมมือกันของคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม
**ด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการสร้างเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และความรู้
เป็นเครือข่ายในความหมายทางด้านสังคม และมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการจัดความสัมพันธ์และเชื่อมโยงคนและองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งในการเรียนรู้และการพัฒนา ซึ่งเป็นเครือข่ายในความหมายทางด้านเทคโนโลยีและเมื่อการศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน การจัดการศึกษาโดยกระบวนการของเครือข่าย จึงเป็นแนวทางใหม่ของการจัดการศึกษาที่มีลักษณะสำคัญ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สรุปไว้ดังนี้
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550
การใช้ " Filter "
Mosaie Tiles
Diffuse Glow
Water Peper
Underpainting
วิธีการสร้าง blogger
2. เกิดหน้าต่าง ขั้นที่ 1 create account พิมพ์รายละเอียดต่างๆให้ครบกด continue
วิธีการวาดภาพเบื้องต้นอย่างง่าย
1. คะแน ขนาดหัวและลำตัวของนกให้ใกล้เคียงกับ นกที่จะวาด
การเรียนโปรแกรม photoshop
***การตัดภาพด้วยเครื่องมือแบบต่างๆ***
การตัดภาพในโปรแกรม Photoshop นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี
1. การตัดภาพด้วย Magic Wand Tool เครื่องมือนี้จะทำการเลือก
Selection โดยการเลือกเอาส่วนที่เป็นสีแนวเดียวกันไว้ด้วยกัน
สามารถตัดภาพ โดยดึงออกโดยใช้เครื่องมือ Move Tool
2. ตัดภาพโดยใช้ Lasso Tool เครื่องมือนี้นำมาใช้สำหรับในการเลือกพื้นที่ของภาพทีเราต้องการจะนำไปใช้เ
ครื่องมืออันนี้จะอยู่ในหมวด Lassoเครื่องมือ Polygonal นี้เป็นเครืองมือที่ 2 การใช้งานคล้ายๆ กับ Lasso
เราลองมาใช้กันดูดีกว่า เครื่องมือนี้อยู่ที่ไหน ?
***ตัวอย่างการใช้งาน***
การเลือกส่วนที่เป็นตาของเป็ด
1.> ให้เราเปิดภาพเป็ดขึ้นมา ดังภาพ
2.> หลังจากนั้นเลือกเครื่องมือ Polygonal Lasso
แล้วใช้เครื่องมือคลิกให้รอบส่วนที่เราต้องการ ดังภาพ
3.> หลังจากนั้นเราก็สามารถนำส่วนที่เราเลือกไปใช้กับงานที่เราต้องการได้
pen tool จะอยู่ในรูปของปากกา
เลือกทำการปรับเปลี่ยนลักษณะเป็น Path
ทำการวาดเส้นรอบวัตถุที่จะทำการเลือกตัด จนได้เป็นเส้นปิด
กด Ctrl + Enter เพื่อสร้าง Selection และ
ใช้ Move Tool ในการตัดเลื่อนวัตถุ
เรื่องวันนี้
1. มีความรู้เกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัย
2. ขั้นตอนการลงเส้น
3. การวาดภาพโดยการใช้ปากกา
4. ขั้นตอนการวาดภาพ
5. วิธีการสร้างสื่อโดยการเขียนภาพ
6. การเลือกโทนสีเพื่อระบายภาพ
7. การผลิตสื่อด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรม Power Point และ Photoshop
8. การสร้าง blogger
กับ
เพื่อนที่แสนดีคนหนึ่ง
อาจเปลี่ยนวันวานตามไปได้
แต่ตราบใดที่ภาษายังไม่เปลี่ยนไป
ความว่า..เพื่อน..เขียนอย่างไร
ความหมายย่อมเหมือนเดิม
1. การออกแบบการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน
2) ลักษณะเฉพาะของสื่อต่าง ๆ การนำไปใช้ และการออกแบบ สามารถเร้าความสนใจ ให้ความหมาย และมีผลต่อประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนได้อย่างไรบ้าง
3) การจัดหาสื่อการเรียนรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถาน ศึกษา ความคุ้มค่าในการผลิตเอง การหายืม การปรับปรุงดัดแปลง หรือเลือกจัดซื้อ
4) การประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้
- การตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ (Structural)
- การตรวจสอบคุณภาพสื่อ (Qualitative) ดังจะได้กล่าวถึงรายละเอียดการตรวจสอบทั้งสองส่วนตามลำดับต่อไปนี้
๑. ลักษณะสื่อปัจจัยหลักที่มีผลต่อการผลิตสื่อให้มีลักษณะต่างๆ คือ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ การออกแบบ เทคนิควิธี และความงาม ดังนั้นในการตรวจสอบลักษณะสื่อ ผู้ตรวจสอบจะมุ่งตรวจสอบทั้งสี่ประเด็นข้างต้นเป็นหลัก
๑.๑ ลักษณะเฉพาะตามประเภทของสื่อ สื่อแต่ละประเภทมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะ สื่อการเรียนการสอนบางประเภทจะทำหน้าที่เพียงให้สาระข้อมูล บางประเภทจะให้ทั้งสาระและกำหนดให้ผู้เรียนตอบสนองด้วยในสื่อบางประเภท เช่น สื่อสำหรับการศึกษารายบุคคล สื่อที่เสนอเนื้อหาสาระข้อมูลอาจจะเสนอได้หลายรูปแบบ ซึ่งอาจจะให้ความเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมมากน้อยแตกต่างกัน ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดคือของจริง ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลใช้ประสาทสัมผัสได้มากช่องรับสัมผัสกว่าสื่ออื่น ที่มีความเป็นรูปแบบรองลงมา ได้แก่ ของตัวอย่าง ของจำลอง เป็นต้น สื่อบางชนิด ให้สาระเป็นรายละเอียดมาก บางชนิดให้น้อย บางชนิดให้แต่หัวข้อ เช่น แผ่นโปร่งใส สื่อบางประเภทสื่อสารด้วยการดู บางประเภทสื่อสารทางเสียง หรือบางประเภทสื่อสารด้วยการสัมผัส ดมกลิ่น หรือลิ้มรส เช่น การสื่อสารด้วยภาพ ซึ่งมีหลายชนิด ตั้งแต่สื่อประเภทกราฟิกอย่างง่ายไปจนถึงภาพเหมือนจริง สื่อประเภทกราฟิกนั้น ต้องเสนอความคิดหลักเพียงความคิดเดียว ภาพก็มีหลายชนิด ภาพ ๒ มิติ หรือภาพ ๓ มิติ ภาพอาจจะอยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวเร็ว บางชนิดเป็นลายเส้น รายละเอียดน้อย เช่น ภาพการ์ตูน ซึ่งต่างจากภาพเหมือนจริงที่ให้รายละเอียดมาก เป็นต้น รูปแบบของการเสนอภาพนั้น อาจจะเสนอภาพหลายภาพพร้อมกัน (Simultaneous Images หรือ Multi-Images) หรืออาจจะเสนอภาพที่ละภาพต่อเนื่องกัน (Sequential Images) เหล่านี้เป็นต้น ลักษณะที่แตกต่างกันนี้ย่อมให้คุณค่าแตกต่างกัน จะเห็นว่า ในปัจจุบันสื่อแต่ละประเภทมีความหลากหลายในรูปแบบ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและวิธีการสอน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่และทฤษฎีการเรียนการสอนที่นำมาเน้นใหม่ เช่น การประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ในการเรียนการสอน ทำให้สื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทมีมากรูปแบบอันนำมาซึ่งประโยชน์ต่อการสื่อสาร เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ซึ่งแต่เดิมได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพฤติกรรมในการสร้างบทเรียน (Behavioral Psychology) CAI นั้นมีลักษณะเป็นบทเรียนสำเร็จรูป แต่ในปัจจุบันการประยุกต์ใช้ทฤษฎีจิตวิทยาพุทธิปัญญา (Cognitive Psychology) ทำให้เกิด CAI ในลักษณะของเกมส์ (Games) สถานการณ์จำลอง (Simulation) และโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ (Artificial Intelligence) แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้สื่อการเรียนการสอนจะมีรูปแบบที่หลากหลาย สื่อที่ผลิตก็จะต้องคงลักษณะเฉพาะตามประเภทสื่อไว้ได้ ดังนั้นในการตรวจสอบสื่อ ผู้ตรวจสอบจะต้องพิจารณาความถูกต้องของลักษณะสื่อ ทั้งแต่ละองค์ประกอบและโดยส่วนรวมในอันที่จะนำไปสู่การทำงานที่สมบูรณ์ตามศักยภาพของสื่อแต่ละประเภท และตามวัตถุประสงค์ของการผลิตสื่อ
๑.๓ มาตรฐานทางเทคนิควิธี (Technical standards) เทคนิควิธีการเสนอสื่อ เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้สื่อมีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญประการหนึ่งที่ควรเน้นในที่นี้คือ เทคนิควิธีที่ใช้ในสื่อการเรียนการสอน ต้องเป็นเทคนิควิธีการทางการศึกษากล่าวคือ เป็นเทคนิควิธีการที่ช่วยให้การเสนอสาระเป็นไปอย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือหรือไม่ซ่อนเร้นสาระเพื่อให้มีการเดาในด้านการนำเสนอต้องน่าสนใจ ตื่นหู ตื่นตา ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบต้องสามารถชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างและความเหมือน ก่อให้เกิดความเข้าใจง่าย มีความกระชับและสามารถสรุปกินความได้ครบถ้วนถูกต้องตามที่วัตถุประสงค์กำหนด อีกทั้งเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเป็นจริงเป็นจัง ส่วนในด้านการใช้สื่อ ควรเป็นเทคนิควิธีที่ช่วยให้ความคล่องตัวในการใช้ ใช้ง่าย และมีความปลอดภัย
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ด
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10.ช่วยเวลาความสนใจสื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ที่มา http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=6&group_id=25&article_id=281
ก. การจัดประเภทตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากสื่อการสอน
ข. การจัดประเภทตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังต่อไปนี้
การจัดประเภทของสื่อการสอนตามระดับประสบการณ์การเรียนรู้การจัดประเภทของสื่อการสอนโดยนำประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดแบ่งประเภทของสื่อการสอน ได้แก่ แนวคิดของโฮบาน และคณะ (1937)
1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (Projected Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉาย สไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น
2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (Non projected Aids) ตัวอย่างเช่น ภาพนิ่ง แผนภูมิ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น
3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ แผ่นเสียง เป็นต้น
สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ (Software or Material) เป็นสิ่งที่ได้รับการบรรจุเนื้อหาสาระ เรื่องราว หรือความรู้ไว้ ในลักษณะต่าง ๆ เช่น สไลด์ (บรรจุเรื่องราวไว้ในลักษณะภาพนิ่ง) หนังสือ (บรรจุเรื่องราว เป็นตัวอักษรหรือสัญลักษณ์) แผ่นเสียง เทปเสียง (บรรจุเรื่องราวไว้เป็นเสียง) สื่อประเภทวัสดุ สามารถจำแนกออกได้อีก 2 ชนิด คือ
1.1 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ จึงจะสามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ไปยังผู้เรียนได้ เช่นแผ่นเสียง เทปวีดิทัศน์ ภาพโปร่งใส เป็นต้น
1.2 สื่อการสอนที่เป็นวัสดุที่สามารถนำเสนอเรื่องราวความรู้ สาระ ได้โดยตัวเอง เช่น แผนภูมิ แผนภาพ ลูกโลก รูปภาพ หนังสือ เ็ป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ (Hardware) เป็นสิ่งที่เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูล ความรู้ หรือสาระ ที่อยู่ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมา เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นต้น
3. สื่อการสอนประเภทเทคนิค และวิธีการ (Techniques and Methods) หมายถึง สื่อการสอนที่มีลักษณะเป็นแนวความคิด รูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน หรือเทคนิค ที่ไม่มีลักษณะกายภาพเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ แต่สามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาช่วยในการดำเนินงานได้ ตัวอย่างเช่น การแสดงบทบาทสมมติ การสาธิต การทดลอง เป็นต้น
5. ความสำคัญของสื่อการสอน เอ็ดการ์ เดล ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
2. สื่อการสอน ช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียน เพราะผู้เรียนสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้ด้วยตา หู และการเคลื่อนไหวจับต้องได้แทนการฟังหรือดูเพียงอย่างเดียว
3. เป็นรากฐานในการพัฒนาการเรียนรู้และช่วยความทรงจำอย่างถาวร ผู้เรียนจะสามารถนำประสบการณ์เดิมไปสัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้ เมื่อมีพื้นฐานประสบการณ์เดิมที่ดีอยู่แล้ว
4. ช่วยให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางความคิด ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำให้เห็นความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น เวลา สถานที่ วัฏจักรของสิ่งมีชีวิต
5. ช่วยเพิ่มทักษะในการอ่านและเสริมสร้างความเข้าใจในความหมายของคำใหม่ ๆ ให้มากขึ้น ผู้เรียนที่อ่านหนังสือช้าก็จะสามารถอ่านได้ทันพวกที่อ่านเร็วได้ เพราะได้ยินเสียงและได้เห็นภาพประกอบกัน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น เมื่อทราบความสำคัญของสื่อการสอนดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรพิจารณาอีกประการก็คือ ประเภท หรือชนิดของสื่อการสอน ดังจะกล่าวต่อไปดังนี้
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php
ประโยชน์ของสื่อการสอน
1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความจริงจังและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน
2. ช่วยให้นักเรียนรู้ได้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้จำนวนหนึ่ง
3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการเรียนการสอน
4. ช่วยให้ผู้เรียนจำ ประทับความรู้สึก และทำอะไรเป็นเร็วขึ้นและดีขึ้น
5. ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหาในขบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
6. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนได้ลำบากโดยการช่วยแก้ปัญหา หรือข้อจำกัดต่าง ๆ ได้ดังนี้· ทำสิ่งที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น· ทำนามธรรมให้มีรูปธรรมขึ้น· ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง· ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้ย่อยขนาดลง· ทำสิ่งที่เล็กมากให้ขยายขนาดขึ้น· นำอดีตมาศึกษาได้· นำสิ่งที่อยู่ไกลหรือลี้ลับมาศึกษาได้
7. ช่วยให้นักเรียนเรียนสำเร็จง่ายขึ้นและสอบได้มากขึ้น
ที่มา : http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php
การออกแบบสื่อการสอนการออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
ลักษณะการออกแบบที่ดี (Charecteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
หลักการออกแบบสื่อ
1.ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2.ลักษณะของผู้เรียน ใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3.ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต-การสอนกลุ่มเล็ก-การสอนเป็นรายบุคคลกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4.ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
องค์ประกอบของการออกแบบ
2.เส้น ( Line )
3.รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4.ปริมาตร ( Volume )
5.ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7.สี ( Color )
ที่มา : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl
การใช้สื่อการสอน
1. ใช้สื่อการสอนในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทั้งนี้เพื่อเร้าผู้เรียนให้เกิดความสนใจ และเปลี่ยนพฤติกรรมในเบื้องต้น โดยปรับตนเองให้พร้อมที่จะเรียนรู้บทเรียนใหม่ ซึ่งอาจกระทำได้โดยการรื้อฟื้นความรู้เดิม (assimilation) หรือขยายความรู้เดิม (accommodation) เพื่อนำมาใช้ให้ประสานกันกับความรู้ใหม่ ซึ่งจะเรียนในขั้นต่อไป
2. ใช้สื่อการสอนในขั้นประกอบการสอนหรือขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ความกระจ่างในเนื้อหาที่เรียนหรือทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและเข้าใจข้อเท็จจริงในเนื้อหาอย่างแท้จริงในรูปของการเกิด Concept เข้าใจหลักการสำคัญ และมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ดีขึ้นตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้
3. ใช้สื่อการสอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้ของผู้เรียนให้ก้าวหน้าและเจริญงอกงามทั้งในด้านความกว้างและความลึกของภูมิปัญญา ซึ่งเป็นผลของการเรียนอย่างแท้จริง
ที่มา: http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl
ภูมิใจนำเสนอ
โรคไทรอยด์
***ลักษณะของต่อมไทรอยด์ต่อมไทรอยด์มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือกมีขนาดยาว 4 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ทำหน้าที่สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกปกติ
- หัวใจเต้นแรง
- ใจสั่น
- นอนไม่หลับ
- น้ำหนักลด
- ที่สำคัญอารมณ์แปรปรวนบ่อย
-Hyperthyroid คอพอกเป็นพิษ หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติเป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญมากเกินไปสาเหตุโรค Grave's disease เกิดภาวะที่มีภูมิไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อมโรค Multinudular toxic goiter หมายถึงภาวะที่ก้อน [nodule] ในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น อาจก้อนเดียว หรือหลายก้อนThyroiditis ช่องแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษอาการ
*อารมณ์แปรปรวน
*นอนไม่หลับ
*กล้ามเนื้ออ่อนแรง
*ตาโปน
*มือสั่น
*ใจสั่น เหนื่อยง่าย
*คอพอก
*ประจำเดือนผิดปกติ
*ขี้ร้อน
*น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี
***การวินิจฉัยเจาะเลือดพบว่า ค่า T3หรือ T4 สูง และค่า TSH ต่ำทำไทรอยด์สแกน เพื่อดูว่าสภาพต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม หรือ มีก้อนในต่อมไทรอยด์ หรือเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบการรักษาการรักษามีได้หลายวิธีแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ สภาพของผู้ป่วย ชนิดของคอพอกเป็นพิษ ความรุนแรงของโรค การรักษามีได้ 3 วิธี คือ
-การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole
-การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodineเมื่อผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับ iodine ที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ แพทย์จะคำนวณขนาดยาที่เหมาะสม หากได้มากเกินไปจะเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจำเป็นต้องได้รับยา thyroid hormone ไปตลอดชีวิต แต่ถ้าหากได้รับน้ำแร่น้อยไปผู้ป่วยยังคงเกิดอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษแต่รุนแรงน้อยลง แพทย์จะนัดให้ยาอีกครั้ง
-การผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดมีความนิยมลดลงไปมาก โดยเลือกใช้กับผู้ป่วยบางราย เช่น เด็ก วัยรุ่น หรือหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัญหากับยาที่รักษา หรือผู้ที่มีต่อมโตมาก มีอาการทางตารุนแรง หรือมีก้อนในต่อมยาอื่น beta blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เพื่อลดอาการของโรคฮอร์โมนไทรอยด์ขาดลักษณะฮอร์โมนไทรอยด์ขาด หรือ Hypothyroidismฮอร์โมนไทรอยด์ขาด คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาน้อยเกินความต้องการ (ไฮโปฯ)ส่วนคนที่ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด ชีพจรจะเต้นช้า ขี้หนาว ความจำเสื่อม บวม ท้องผูก หากเป็นมากๆ และนานๆ จะทำให้สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเล็กแคระแกรน และเป็นโรคเอ๋อได้ สาเหตุของโรคลักษณะเป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมาน้อย ทำให้ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) สร้างฮอร์โมน Thyroid stimulating hormone (TSH) ออกมามากเพื่อกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้นทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นที่เราเรียกว่าคอพอก goiterสาเหตุ
-เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ thyroiditis
-เกิดจาการตัดต่อมไทรอยด์มากเกินไป
-เกิดจากการได้น้ำแร่ที่ใช้รักษาคอพอกเป็นพิษอาการ
*ผู้ป่วยที่เป็นไม่มากอาจจะไม่อาการอะไร หากไม่รักษาโรคจะเป็นมากขึ้นจนเกิดของอาการต่อมไทรอยด์
*ทำงานน้อย
*อ่อนเพลีย
*ผิวหยาบและแห้ง ผิวซีด และผมแห้ง
*อารมณ์ผันผวน
*เสียงแหบ
*ขี้ลืม
*น้ำหนักเพิ่ม
*กลืนลำบาก
*ขี้หนาว
*เบื่ออาหารการวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจหา TSH T3 T4จะพบว่าค่า T4 ปกติหรือต่ำแต่ค่า TSH จะสูงเป็นการยืนยันการวินิจฉัยการรักษาโดยการให้ thyroid hormone ไปตลอดชีวิตโดยจะต้องเริ่มให้ในขนาดน้อยแล้วค่อยปรับยาจนกระทั่งระดับ T4 และ TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ควรเปลี่ยนยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ควรตรวจหาระดับ TSH เป็นระยะเพื่อปรับยาไทรอยด์การเจาะเลือดปีละครั้งหากการวินิจฉัยไม่ผิดพลาดท่านจะต้องรับประทานยาไปตลอดชีวิต ไม่ควรหยุดยาเองแม้ว่าท่านจะป่วยจากโรคอื่นต่อมไทรอยด์กับสตรีจะพบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ซึ่งทำให้วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพตัวเองและบุตร ปัญหาที่พบได้บ่อยคือการตั้งครรภ์พบว่าผู้ป่วยที่เป็นคอพอกเป็นพิษหรือเป็นโรค Graves' disease เมื่อสามารถควบคุมอาการได้ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ แต่ถ้าจะให้ดีควรรักษา Graves' disease ด้วยการผ่าตัดหรือให้น้ำแร่ก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำว่าให้สามารถตั้งครรภ์หลังจากรักษาอย่างน้อย 6 เดือนการรักษาโรคคอพอกเป็นพิษ Graves' disease ขณะตั้งครรภ์มีข้อแตกต่างจากการรักษาในคนปกติคือไม่สามารถให้รับประทานน้ำแร่ และการให้ยา PTU Metimazole ต้องให้ขนาดน้อยที่สุดที่คุมโรค เนื่องจากไม่ต้องการให้ยาไปมีผลต่อเด็กเพราะยานี้สามารถผ่านรกไปสู่เด็กได้การเป็นหมันทั้งคอพอกเป็นพิษหรือต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีบุตรยาก เมื่อรักษาดีแล้วก็สามารถมีบุตรได้เหมือนคนปกติ นอกจากนั้นหากไม่รักษาความต้องการทางเพศก็จะลดลงการมีประจำเดือนคอพอกเป็นพิษจะมีประจำเดือนน้อยกว่าคนปกติ ส่วนคนที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยจะมีประจำเดือนมากกว่าคนปกติมีเพื่อนไว้พูดคุยคลายทุกข์ควรพูดคุยระบายออกมากับครอบครัว หรือเพื่อนที่รู้ใจ โดยเฉพาะเพื่อนที่มีปัญหาเดียวกัน ซึ่งจะคอยรับฟังและดูแลซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดีหากิจกรรมทำเพื่อความเพลิดเพลินไม่ว่าการวิธีเขียนไดอารี่ วาดภาพ อ่านหนังสือ หรือกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ช่วยทำให้จิตใจดีขึ้นกว่าการนั่งจมจ่อมอยู่กับปัญหาการรับประทานน้ำแร่เนื่องจากว่าไอโอดินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ การให้ไอโอดินที่อาบรังสีจะทำให้รังสีทำลายเนื้อมะเร็ง การรักษาโดยวิธีนี้แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทาน Iodine ที่อาบรังสีซึ่งอาจจะทำเป็นรูปสารละลาย หรือแคปซูล I-131 นี้จะไปจับกับเนื้อไทรอยด์อย่างรวดเร็ว และเริ่มทำลายเนื้อไทรอยด์ โดยจะเห็นผลใน 6-18 สัปดาห์ ก่อนได้รับสารนี้ควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อนทุกครั้งการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับน้ำแร่หลักการรักษาผู้ป่วยด้วยน้ำแร่คือการนำเอา Iodine ไปอาบรังสีเพื่อรักษา เมื่อท่านกินน้ำแร่ต่อมไทรอยด์จะจับแร่ดังกล่าวไว้ รังสีก็จะทำลายต่อมไทรอยด์ แม้ว่ารังสีที่ได้รับจะมีปริมาณไม่มากแต่ท่านควรป้องกันคนใกล้ชิดของท่านมิให้ได้รับรังสีนั้นโดยวิธีการดังนี้ให้อยู่ไกลผู้อื่น ช่วง 2-3 วันแรกให้แยกตัวจากผู้อื่น โดยการแยกห้องนอน งดการกอด หรือมีเพศสัมพันธ์ หลีกเลี่ยงคนท้อง และเด็กลดระยะเวลาที่ต้องสัมผัสกับผู้อื่น เนื่องจากการปริมาณรังสีที่ได้รับขึ้นกับระยะเวลาที่สัมผัสดังนั้นควรอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นให้น้อยที่สุดรักษาสุขลักษณะให้ดีที่สุด ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งที่เข้าห้องน้ำ ให้ชักโครก 3-4 ครั้ง แยกถ้วยชามอาหารในระยะแรก ล้างห้องน้ำหรืออ่างล้างหน้าทุกครั้งที่เปื้อนน้ำลายหรือเหงื่อของผู้ป่วย